Easy E-Receipt 2568 ผู้ประกอบการขนาดเล็กก็ทำได้
26/12/2024FAQ เกี่ยวกับ Easy E-Receipt 2.0 ของปี 2568
คำถาม คำตอบ Q&A มาตรการ Easy E-Receipt 2.0 ปี 2568
1มาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” ให้สิทธิประโยชน์อะไร
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหักลดหย่อนค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการในราชอาณาจักร ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ได้สูงสุด 50,000 บาท
2ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ใดจึงได้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการนี้
(1) ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 30,000 บาท
(2) หักลดหย่อนได้เพิ่มอีกตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 20,000 บาท ถ้า
(2.1) ซื้อสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
(2.2) ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
(2.3) ซื้อสินค้าหรือรับบริการจากวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ เพื่อสังคม
ทั้งนี้ ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ (1) รวมถึงค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ (2) ด้วย เช่น ซื้อสินค้า OTOP 50,000 บาท สามารถหักลดหย่อนได้ 50,000 บาท
3ค่าซื้อสินค้า OTOP ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้แก่วิสาหกิจชุมชน และค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการที่จ่ายให้วิสาหกิจเพื่อสังคมหักลดหย่อนได้เท่าไร
หักลดหย่อนได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
4ผู้ได้สิทธิหักลดหย่อนตามมาตรการ “Easy E-Receipt 2.0” คือผู้ใด
ผู้มีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่านั้น แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล
5การซื้อสินค้าหรือการรับบริการจากผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มสามารถ หักลดหย่อนได้ทุกกรณีหรือไม่
ได้เฉพาะกรณีซื้อสินค้าหรือรับบริการดังต่อไปนี้
1) หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสาร
2) หนังสือ หนังสือพิมพ์ และนิตยสารที่อยู่ในรูปของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
3) สินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ซึ่งลงทะเบียนกับกรมการพัฒนาชุมชนแล้ว
4) สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจชุมชนที่จดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
5) สินค้าหรือบริการของวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม
6ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการใดที่ไม่สามารถหักลดหย่อนได้
1) ค่าซื้อสุรา เบียร์ และไวน์
2) ค่าซื้อยาสูบ
3) ค่าซื้อน้ำมัน ค่าซื้อก๊าซ และค่าบริการอัดประจุไฟฟ้าสำหรับเติมยานพาหนะ
4) ค่าซื้อรถยนต์ และรถจักรยานยนต์ ตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ และค่าซื้อเรือ
5) ค่าสาธารณูปโภค ค่าน้ำประปา ค่าไฟฟ้า ค่าบริการสัญญาณโทรศัพท์ ค่าบริการสัญญาณอินเทอร์เน็ต
2
ข้อ Q&A รายละเอียด
6) ค่าบริการที่มีข้อตกลงการให้บริการและผู้รับบริการสามารถใช้บริการดังกล่าวนอกเหนือจากระยะเวลาระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เช่น ค่าสมาชิกต่าง ๆ
7) ค่าเบี้ยประกันวินาศภัย
8) ค่าบริการจัดนำเที่ยวที่จ่ายให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจนำเที่ยว
9) ค่าที่พักในโรงแรม
10) ค่าที่พักโฮมสเตย์ไทย
11) ค่าที่พักที่ไม่เป็นโรงแรมตามกฎหมายว่าด้วยโรงแรม
7วิสาหกิจชุมชนต้องเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากกรมสรรพากรเท่านั้นหรือไม่
จะเป็นบุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลก็ได้ แต่ต้องจดทะเบียนต่อกรมส่งเสริมการเกษตร
8วิสาหกิจเพื่อสังคมต้องเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดแจ้งขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อกรมสรรพากรเท่านั้นหรือไม่
ต้องเป็นวิสาหกิจเพื่อสังคมที่จดทะเบียนต่อสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจเพื่อสังคม โดยจะจดแจ้งขอรับสิทธิประโยชน์ทางภาษีต่อกรมสรรพากรหรือไม่ก็ได้
9ผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการต้องแจ้งข้อมูลใดให้ผู้ประกอบการใช้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt
1) ชื่อและนามสกุล
2) ที่อยู่
3) เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากร (เลขประจำตัวประชาชน)
เมื่อแจ้งข้อมูลส่วนบุคคลถูกต้องครบถ้วนแล้ว ข้อมูลการซื้อสินค้าและการรับบริการจะปรากฏ ใน My Tax Account ของผู้เสียภาษี และสามารถใช้ในการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของปีภาษี 2568
10e-Tax Invoice หรือ e-Receipt มีข้อความไม่สมบูรณ์ เช่น เขียนชื่อหรือที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าผิด สามารถนำมาใช้หักลดหย่อนได้หรือไม่
หาก e-Tax Invoice มีรายการครบถ้วน แม้จะมีการระบุชื่อหรือที่อยู่ผู้ซื้อสินค้าผิด ก็สามารถนำมาใช้หักลดหย่อนได้ ทั้งนี้ ควรตรวจสอบว่าเลขประจำตัวประชาชนของผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการถูกต้องหรือไม่ เพื่อประโยชน์ในการใช้ข้อมูลยื่นแบบแสดงรายการภาษี
11ค่าซ่อมรถสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่
ไได้ หากซ่อมและจ่ายค่าซ่อมระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 และได้รับ e-Tax Invoice
12ค่าซื้อจักรยานที่ติดเครื่องยนต์สามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่
ไม่ได้ เพราะตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ จักรยานยนต์หมายความรวมถึงจักรยานที่ติดเครื่องยนต์ด้วย
13ค่าซื้อทองรูปพรรณสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่
ได้ เฉพาะค่ากำเหน็จ (ตามมูลค่าที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม) หากได้รับ e-Tax Invoice
14ค่าซื้อทองคำแท่งสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากการขายทองคำแท่งได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
15กรณีมีสัญญาใช้บริการระยะยาวที่มีระยะเวลาสัญญาเริ่มต้นก่อนวันที่ 16 มกราคม 2568 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 โดยมีส่วนที่ชำระและใช้บริการระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ด้วย สามารถหักลดหย่อนค่าบริการเฉพาะส่วนที่ใช้บริการในช่วงเวลาดังกล่าวได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากเป็นค่าบริการสำหรับบริการที่มีข้อตกลงซึ่งเริ่มต้นก่อนวันที่ 16 มกราคม 2568 หรือสิ้นสุดหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568
16กรณีชำระค่าบริการระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 แต่ใช้บริการหลังวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 จะหักลดหย่อนได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากต้องชำระค่าบริการและใช้บริการระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 เท่านั้น
17ค่ารักษาพยาบาลหรือค่าทำศัลยกรรมสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากการให้บริการของสถานพยาบาลได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม
18ค่าซื้อบัตรเพื่อแลกรับบริการสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากการขายบัตรเพื่อแลกรับบริการไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากนำบัตรเพื่อแลกรับบริการไปแลกรับบริการระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งสามารถคำนวณมูลค่าและออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ได้ สามารถหักลดหย่อนตามมูลค่าดังกล่าวได้
19ค่าซื้อบัตรของขวัญ (Gift Voucher) และค่าซื้อบัตรเติมเงินสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่
ไม่ได้ เนื่องจากการขายบัตรของขวัญหรือบัตรเติมเงินไม่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่หากนำบัตรของขวัญหรือบัตรเติมเงินไปแลกซื้อสินค้าหรือรับบริการระหว่างวันที่ 16 มกราคม 2568 ถึงวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ซึ่งสามารถคำนวณมูลค่าและออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ได้ สามารถ หักลดหย่อนตามมูลค่าดังกล่าวได้
20e-Tax Invoice & e-Receipt คืออะไร และแตกต่างจากใบกำกับภาษีและใบรับในรูปแบบกระดาษอย่างไร
e-Tax Invoice และ e-Receipt คือ ใบกำกับภาษี (e-Tax Invoice) และใบรับ (e-Receipt) ที่ได้มี การจัดทำข้อความขึ้นเป็นข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์และได้ลงลายมือชื่อโดยใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Certificate) ทั้งนี้ ผู้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ต้องได้รับอนุมัติจากกรมสรรพากรให้ออกได้
21ผู้ซื้อมีที่อยู่ตามทะเบียนบ้านกับที่อยู่ในแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแตกต่างกัน ให้ใช้ที่อยู่ใด
จะใช้ที่อยู่ตามทะเบียนบ้านหรือที่อยู่ปัจจุบันก็ได้
22กรณีจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการหลายครั้ง จะสามารถนำมูลค่าการซื้อสินค้าหรือการรับบริการ แต่ละครั้งมารวมกันเพื่อใช้สิทธิได้หรือไม่
ได้ แต่รวมกันแล้วต้องไม่เกินที่กำหนด
23กรณีจ่ายค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการครั้งเดียว โดยมูลค่าการซื้อสินค้าหรือการรับบริการนั้นสูงกว่า ที่กำหนด สามารถใช้สิทธิได้หรือไม่
ได้ แต่ไม่เกินที่กำหนด
24e-Tax Invoice หรือ e-Receipt มีชื่อผู้ซื้อสินค้าหลายคนสามารถหักลดหย่อนได้หรือไม่
ไม่ได้ e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ต้องมีชื่อผู้ซื้อสินค้าหรือผู้รับบริการเพียงคนเดียว
25กรณี e-Tax Invoice มีทั้งรายการสินค้าและบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่มและที่ไม่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม จะหักลดหย่อนอย่างไร
สามารถหักลดหย่อนได้เฉพาะค่าซื้อสินค้าและค่าบริการที่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เว้นแต่ค่าซื้อสินค้าหรือค่าบริการตามข้อ 5 สามารถหักลดหย่อนได้ แม้จ่ายให้แก่ผู้มิได้เป็นผู้ประกอบการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม
26สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านค้าที่ได้รับอนุมัติให้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ได้ที่ใด
สามารถตรวจสอบรายชื่อร้านค้าที่ได้รับอนุมัติให้ออก e-Tax Invoice หรือ e-Receipt ได้ที่เว็บไซต์กรมสรรพากร https://etax.rd.go.th/ETAXSEARCH/normal_person.html ได้ตั้งแต่วันที่ 16 มกราคม 2568