ข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการ Easy E-Receipt 2567 เริ่ม 1 ม.ค. พ.ศ. 2567
08/12/2023มาดูเงื่อนไขสำหรับการใช้จ่าย Easy E-Receipt 2567 เพื่อไม่ให้ผู้ซื้อเสียสิทธิ์ในการลดหย่อนภาษี
15/12/2023คู่มือ Easy E-Receipt 2567 สำหรับร้านค้าและผู้ประกอบการ
จากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 ที่ Leceipt ได้ดูแลบริษัทที่มาใช้ซอฟต์แวร์ออกเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ทำให้เราทราบว่าผู้ประกอบการจะต้องเตรียมตัวอะไรบ้างเพื่อรับยอดขายที่จะเข้ามา และปัญหาที่จะเกิดขึ้นมีอะไรบ้าง จะได้หาทางป้องกันเพื่อที่จะให้ลูกค้าทุกท่านทำงานได้อย่างราบรื่น
Leceipt ขอขอบคุณลูกค้าทุกท่านที่ใช้บริการของเรา เราจึงได้จัดทำคู่มือสำหรับผู้ประกอบการเพื่อเตรียมตัวรับยอดขายจากโครงการกระตุ้นเศรษฐกิจของภาครัฐ ที่มีชื่อว่า Easy E-Receipt ในระหว่างวันที่ 1 ม.ค. 2567 – 15 ก.พ. 2567
โครงการ Easy E-Receipt 2567 ลูกค้าที่ซื้อสินค้ากับผู้ประกอบการสามารถนำเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ไปลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 50,000 บาท รายละเอียดเกี่ยวกับโครงการในลิงค์ข้างล่างนี้
ผู้ประกอบการควรเตรียมตัวกับโครงการ Easy E-Receipt 2567 อย่างไร?
(สำหรับลูกค้าเดิมของ Leceipt ข้ามไปข้อ 2 ได้เลยครับ เพราะลงทะเบียนเข้าระบบเรียบร้อยแล้ว)
- ลงทะเบียนเข้าระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และเตรียมซอฟต์แวร์ Leceipt ให้พร้อม
- สำหรับลูกค้าของ Leceipt ที่ได้ลงทะเบียนระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt และได้รับการประกาศรายชื่อแล้ว สามารถติดต่อ Leceipt เพื่อขอรับเครื่องหมายรับรอง e-Tax Invoice & e-Receipt เพื่อนำไปติดที่หน้าร้านหรือนำไปทำสื่อประชาสัมพันธ์ได้เลย
- เตรียมจัดทำสื่อ โปสเตอร์ รูปภาพ หรือวีดีโอ สำหรับประกาศผ่านทางช่องทางต่างๆ ของบริษัท เช่น หน้าร้าน เว็ปไซต์ Facebook Page หรือช่อง YouTube ของบริษัท เพื่อให้ลูกค้าทราบว่าบริษัทสามารถออกเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ได้ ลูกค้าที่ต้องการลดหย่อนภาษี จะได้เตรียมเงินมาซื้อของกับบริษัท
- หากท่านขายสินค้าผ่าน Shopee หรือ Lazada ให้ลงทะเบียนแคมเปญ Easy E-Receipt กับทาง Shopee หรือ Lazada เพื่อที่จะได้รับการโปรโมทผ่านช่องทางของ Market Place
ปัญหาที่พบในช้อปดีมีคืน 2566 และแนวทางแก้ไข
ปัญหา
- ลูกค้าไม่ทราบว่าสินค้าหรือบริการของบริษัทสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ เนื่องจากบางบริษัทมีสินค้าและบริการหลายอย่าง บางอย่างไม่ได้สิทธิในการลดหย่อนภาษี และบางอย่างได้สิทธิในการลดหย่อนภาษี
- ลูกค้าไม่ทราบว่าบริษัทสามารถออกเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ได้
- ลูกค้ามาซื้อสินค้าหรือใช้บริการกับบริษัทก่อนวันสิ้นสุดโครงการ แต่มาของเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt หลังวันสิ้นสุดโครงการ หรือลูกค้าสั่งของผ่าน Maketplace เช่น Shopee Lazada TikTok Shop หรือ LINE SHOPPING ซึ่งมีเวลาในการจัดส่งสินค้าด้วย ซึ่งลูกค้าอาจจะได้รับสินค้าหลังจากโครงการสิ้นสุดแล้ว แล้ววันสุดท้ายที่ลูกค้าจะได้รับลดหย่อนในการสั่งสินค้าคือวันไหน บริษัทต้องแจ้งวันสุดท้ายที่สั่งสินค้าแล้วสามารถใช้สิทธิลดหย่อนภาษีกับลูกค้าให้ชัดเจน (ลูกค้าที่มาซื้อของอาจจะไม่เข้าใจเรื่อง Tax Point และวันที่บนใบกำกับภาษี บริษัทต้องสื่อสารกับลูกค้าให้ชัดเจน)
- ลูกค้าขอหลักฐานว่าบริษัทได้ลงทะเบียนเข้าระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt แล้ว
- ลูกค้าไม่เชื่อว่าเอกสารที่ได้รับ คือ เอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ของจริง
- เอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ที่มีการทำ Digitally Signed หลังวันสิ้นสุดโครงการ อาจจะไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
แนวทางแก้ไข
- แจ้งให้ลูกค้าทราบผ่านสื่อของบริษัทว่าสินค้าหรือบริการใด สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้
- ติดต่อขอเครื่องหมายรับรอง e-Tax Invoice & e-Receipt กับ Leceipt แล้วแจ้งให้ลูกค้าทราบผ่านสื่อของบริษัทว่าสามารถออกเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ได้
- แจ้งระยะเวลาที่ลูกค้าสามารถขอเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ให้ชัดเจน
- วิธีตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่ได้รับอนุมัติให้จัดเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt
- วิธีตรวจสอบเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt
- เอกสารที่ลูกค้านำไปลดหย่อนภาษีให้ทำการ Digitally Signed ให้แล้วเสร็จภายในเวลา 23:59 น. วันที่ 15 ก.พ. 2567
หากบริษัทของท่านประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการขายปลีก ขอให้ท่านรีบคว้าโอกาสที่จะเพิ่มยอดขายในช่วงโครงการ Easy E-Receipt 2567 เนื่องจากเรามีข้อมูลจากโครงการช้อปดีมีคืน 2566 แล้วว่า ธุรกิจขายปลีกจะได้ยอดขายเพิ่มขึ้นอย่างมากและได้ประโยชน์สูงสุดจากโครงการนี้
สุดท้ายนี้กระผมและทีมงาน Leceipt ขอขอบพระคุณลูกค้าทุกท่านที่ใช้บริการของเราและสนับสนุนทีมงาน Leceipt ด้วยดีตลอดมา ทีมงานของเราจะดูแลซอฟต์แวร์ e-Tax Invoice & e-Receipt ให้บริษัทของท่านใช้งานอย่างดีที่สุด
ผู้เขียน
นายกฤษณ์ สุขวัจน์
บริษัท ฟรีเวชั่น จำกัด
ซอฟต์แวร์ Leceipt (e-Tax Invoice & e-Receipt)
เนื้อหาในคู่มือนี้เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของ บริษัท ฟรีเวชั่น จำกัด ไม่อนุญาตให้คัดลอกหรือนำไปเผยแพร่ต่อ (อนุญาตให้แชร์ลิงค์ได้)
บทความที่น่าสนใจ