ไฟล์ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบ XML คืออะไร?
01/06/2023Leceipt ช่วยให้ TikTok Shop สร้างใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
06/06/2023เหตุผลอะไรบ้างที่ต้องใช้ Excel สร้างเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt
Leceipt เป็นซอฟต์แวร์สร้างเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ ที่รองรับระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร โดยสามารถกรอกข้อมูลจากแบบฟอร์มในซอฟต์แวร์ Leceipt ดังรูปด้านล่าง
หรือสามารถสร้างเอกสารจาก Microsoft Excel (ซึ่งมี Template ให้)
ในหัวข้อนี้จะมาพูดถึงเหตุผลว่าทำไมถึงใช้ Microsoft Excel ในการสร้างเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์
1.ในกรณีที่มีปริมาณเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ ที่มีปริมาณมาก ๆ การใช้ Microsoft Excel ช่วยประหยัดเวลา ไม่ต้องเสียเวลาป้อนข้อมูลที่แบบฟอร์มในซอฟต์แวร์ Leceipt
2.หากท่านมีซอฟต์แวร์บัญชีอยู่แล้ว แล้วหากต้องการสร้างเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ ด้วยซอฟตแวร์ Leceipt ก็แปลงรูปแบบข้อมูลออกมาเป็นไฟล์ .CSV ซึ่งสามารถสร้างเอกสารได้
3.มีความสะดวกในการสร้างเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ เพราะว่ากรอกข้อมูลใน Excel Template แล้วก็อัปโหลดที่ซอฟตแวร์ Leceipt แล้วก็สร้างเอกสารออกมาได้เลย
4.กำหนดจำนวนปริมาณการสร้างเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งให้มีกี่เอกสาร
5.สามารถสร้างเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice & e-Receipt ในรูปแบบที่หลากหลายประเภทในเวลาเดียวกัน โดยสำหรับซอตแวร์ Leceipt รองรับการสร้างเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ดังนี้
- ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี
- ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
- ใบเสร็จรับเงิน
- ใบแจ้งหนี้/ใบกำกับภาษี
- ใบส่งของ/ใบกำกับภาษี
- ใบกำกับภาษี
- ใบเพิ่มหนี้
- ใบลดหนี้
ซอฟต์แวร์ Leceipt เป็นซอฟต์แวร์สร้างเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) โดยเมื่อสร้างเอกสารและลงลายเซ็นดิจิทัลแล้ว โดยมีรูปแบบไฟล์ออกเป็นไฟล์ PDF ซึ่งเป็นไฟล์สำหรับส่งให้กับลูกค้า (ส่งอีเมลและ SMS ผ่านซอฟต์แวร์ Lecipt) รวมไปถึงไฟล์รูปภาพ (ดาวน์โหลดที่ซอฟต์แวร์ Lecipt) และ ไฟล์ XML สำหรับส่งให้กับกรมสรรพากร
Features :
– สามารถสร้างทีละหลายเอกสารพร้อมกัน
– รองรับการพิมพ์เอกสารออกมาในรูปแบบกระดาษได้
– รองรับเอกสารทั้งในในรูปแบบ PDF และ XML (ไฟล์สำหรับส่งกรมสรรพากร) ได้ (และไฟล์รูปภาพสำหรับส่งผ่านไลน์)
– ทั้งยังสามารถส่งเอกสาร PDF ผ่าน Email และ SMS
ผู้เขียน ศุภลักษณ์ สิงห์จารย์
วันที่ 2 มิถุนายน พ.ศ.2566