ตัวอย่างการใช้งานซอฟต์แวร์ Leceipt สำหรับธุรกิจโรงแรม EP.11 การจัดทำใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าที่กรอกแบบฟอร์มขอใบกำกับภาษี
ตัวอย่างการใช้งานซอฟต์แวร์ Leceipt สำหรับธุรกิจโรงแรม EP.11 การจัดทำใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าที่กรอกแบบฟอร์มขอใบกำกับภาษี
20/03/2025
รู้จักกับ-e-Tax-Invoice-e-Receipt-2568
รู้จัก e-Tax Invoice & e-Receipt ปี 2568 
28/03/2025
ตัวอย่างการใช้งานซอฟต์แวร์ Leceipt สำหรับธุรกิจโรงแรม EP.11 การจัดทำใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าที่กรอกแบบฟอร์มขอใบกำกับภาษี
ตัวอย่างการใช้งานซอฟต์แวร์ Leceipt สำหรับธุรกิจโรงแรม EP.11 การจัดทำใบกำกับภาษีให้กับลูกค้าที่กรอกแบบฟอร์มขอใบกำกับภาษี
20/03/2025
รู้จักกับ-e-Tax-Invoice-e-Receipt-2568
รู้จัก e-Tax Invoice & e-Receipt ปี 2568 
28/03/2025

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับลายเซ็นดิจิทัลบนเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับลายเซ็นดิจิทัลบนเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt

ปัจจุบันการใช้เอกสาร e-Tax Invoice และ e-Receipt กำลังได้รับความนิยมมากขึ้น แต่หลายท่านยังมีความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับ “ลายเซ็นดิจิทัล (Digital signature)” บนเอกสารกันอยู่มาก

สำหรับ “ลายเซ็นดิจิทัล หรือ Digital signature” จัดเป็นหนึ่งในองค์ประกอบของเอกสาร e-Tax Invoice และ e-Receipt โดยเป็นลายเซ็นที่ถูกเข้ารหัส ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า มีความปลอดภัยสูง

ซึ่งบทความนี้จะอธิบายถึงความเข้าใจผิดที่พบบ่อยเกี่ยวกับลายเซ็นดิจิทัล เพื่อให้ผู้อ่านมีความเข้าใจเกี่ยวกับ “ลายเซ็นดิจิทัล” ที่ชัดเจนและถูกต้องมากยิ่งขึ้น

ความเข้าใจผิดเกี่ยวกับลายเซ็นดิจิทัลมีดังต่อไปนี้

ความเข้าใจผิด 1: ลายเซ็นดิจิทัลคือรูปภาพลายเซ็นที่สแกนหรืออัปโหลดแล้ววางบนเอกสาร

ข้อเท็จจริง: ลายเซ็นดิจิทัลไม่ใช่รูปภาพลายเซ็นที่นำมาวางบนเอกสาร แต่ลายเซ็นดิจิทัลเป็นการเข้ารหัส ซึ่งสามารถพิสูจน์ตัวตนและความถูกต้องของเอกสาร e-Tax Invoice และ e-Receipt โดยกระบวนการเข้ารหัสทางคณิตศาสตร์ เพื่อเชื่อมโยงเอกสารอิเล็กทรอนิกส์กับผู้ลงนาม และตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารและตัวตนของผู้ลงนาม

ความเข้าใจผิด 2: การส่งเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ทางอีเมลถือว่ามีการลงลายเซ็นดิจิทัลแล้ว

ข้อเท็จจริง: การส่งเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ทางอีเมลเป็นเพียงวิธีการส่งมอบเอกสารเท่านั้น ไม่ได้หมายความว่าเอกสารนั้นได้ถูกลงลายเซ็นดิจิทัลแล้ว การลงลายเซ็นดิจิทัลเป็นกระบวนการที่ต้องใช้ซอฟต์แวร์หรือระบบที่รองรับการลงลายเซ็นดิจิทัล

ความเข้าใจผิด 3: เอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt สามารถสร้างลายเซ็นดิจิทัลได้ โดยไม่ใช้ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์

ข้อเท็จจริง: ลายเซ็นดิจิทัลที่ถูกต้องตามกฎหมายและน่าเชื่อถือ โดยต้องทำการยื่นขอจากผู้ให้บริการออกใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Certification Authority – CA) ที่ได้รับการรับรอง การขอใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์มักจะมีกระบวนการยืนยันตัวตนที่เข้มงวด

ความเข้าใจผิด 4: ลายเซ็นดิจิทัลไม่มีผลทางกฎหมาย

ข้อเท็จจริง: ในหลายประเทศ รวมถึงประเทศไทย ลายเซ็นดิจิทัลมีผลตามกฎหมาย โดยมีกฎหมายรองรับความถูกต้องและสามารถใช้เป็นหลักฐานทางกฎหมายได้

ความเข้าใจผิด 5: เอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ที่ไม่มีรูปภาพลายเซ็นถือว่าไม่ถูกต้อง

ข้อเท็จจริง: ความถูกต้องของเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ที่มีการลงลายเซ็นดิจิทัลนั้น ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีรูปภาพลายเซ็น แต่ขึ้นอยู่กับการมีข้อมูลลายเซ็นดิจิทัลที่ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้ด้วยใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์

ความเข้าใจผิด 6: ลายเซ็นดิจิทัลไม่ปลอดภัยและอาจถูกปลอมแปลงได้ง่าย

ข้อเท็จจริง: ลายเซ็นดิจิทัลที่ใช้วิธีการเข้ารหัสทางคณิตศาสตร์ที่ มีความปลอดภัยสูงมาก การเปลี่ยนแปลงใด ๆ ที่เกิดขึ้นกับเอกสารหลังจากที่มีการลงลายเซ็นดิจิทัลแล้ว จะทำให้ลายเซ็นนั้นไม่ถูกต้องและสามารถตรวจสอบได้ว่าเอกสารถูกแก้ไข

ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับลายเซ็นดิจิทัลมีความสำคัญอย่างยิ่ง สำหรับผู้ประกอบการและผู้ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt เพื่อให้เป็นประโยชน์ในการประกอบธุรกิจได้อย่างราบรื่น ปลอดภัย และถูกต้องตามกฎหมาย

ปัจจุบันมีซอฟต์แวร์และระบบที่ออกแบบมาให้การลงลายเซ็นดิจิทัล ใช้งานง่ายและสะดวก ผู้ใช้ไม่จำเป็นต้องมีความรู้ทางเทคนิคขั้นสูงก็สามารถลงนามในเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ได้

หากท่านกำลังมองหาซอฟต์แวร์ e-Tax Invoice & e-Receipt ที่เอกสารมีการลงลายเซ็นดิจิทัล ซอฟต์แวร์ Leceipt สามารถตอบโจทย์และช่วยทำให้ท่านจัดทำเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ที่เอกสารมีการลงลายเซ็นดิจิทัล ทั้งไฟล์ PDF (ส่งให้กับลูกค้า) และไฟล์ XML (ส่งให้กับกรมสรรพากร)

ติดตอบสอบถามได้ที่

LINE OA: @Leceipt (จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.)

เบอร์โทร: 02-107-0999 (จันทร์ – ศุกร์ เวลา 8:30 – 17:30 น.)

สนใจใช้งานซอฟต์แวร์ Leceipt คลิก

ขอใบเสนอาราคา

ระบบจะส่งใบเสนอราคาให้ทางอีเมล ตลอด 24 ชม. (ใช้เวลาประมาณ 3 นาที)

ผู้เขียน ศุภลักษณ์ สิงห์จารย์

วันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2568

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *

error: Content is protected !!