เพย์พาล (PayPal) คืออะไรและทำงานอย่างไร?
23/12/2022ใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ (Electonic Certificate) สำหรับระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt กรมสรรพากร
06/01/2023ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice/e-Receipt) และองค์ประกอบ
สำหรับใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Tax Invoice/e-Receipt จัดเป็นเอกสารในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ของกรมสรรพากร ซึ่งเป็นเอกสารที่ถูกออกโดย “ผู้ประกอบการ/ผู้ขาย” ที่ออกเอกสารนั้น เป็นผู้ได้รับอนุมัติ e-Tax Invoice & e-Receipt กรมสรรพากร (ตรวจสอบได้ที่ https://www.rd.go.th/)
ซึ่งเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ที่ “ผู้ประกอบการ/ผู้ขาย” ทำการส่งให้กับ “ผู้ซื้อ” แบ่งเป็น 2 รูปแบบแบบแรกคือ ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น เป็นไฟล์เอกสาร PDF (เช่นส่งทาง Email หรือ SMS โดยซอฟต์แวร์ Leceipt รองรับ ดูเพิ่มเติมที่ https://www.leceipt.com)
และแบบที่สองคือ พิมพ์ออกมาให้รูปแบบของกระดาษ (จากต้นฉบับที่อยู่ในรูปแบบเอกสารอิเล็กทรอนิกส์) โดยที่จะต้องมีข้อความท้ายเอกสาร “เอกสารนี้ได้จัดทำและส่งข้อมูลให้แก่กรมสรรพากรด้วยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์”
ใบกำกับภาษีเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice/e-Receipt)
โดยจะแสดงองค์ประกอบดังรูปนี้ โดยมีคำอธิบายตามตัวเลขด้านล่าง
- ระบุคำว่า “ใบกำกับภาษี” ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน เช่น บนหัวกระดาษ
- จะต้องแสดง “ชื่อ” “ที่อยู่” รวมไปถึง “เลขประจำตัวของผู้เสียภาษี” ของผู้ประกอบการ (ซึ่งได้จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี)
- รายละเอียด “ชื่อ” “ที่อยู่” ของผู้ซื้อหริือผู้รับบริการ
- หมายเลขของใบกำกับภาษีและเล่มใบกำกับภาษี (ถ้ามี)
- รายการสินค้าที่ประกอบไปด้วย “ชื่อ” “ชนิด” “ประเภท” “ปริมาณ” และ “มูลค่าของสินค้าและบริการ”
- ข้อมูลรายการ “จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง”
- แสดง “วัน เดือน ปี” ที่ได้ออกเอกสารใบกำกับภาษี
- ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
- 8.1 ระบุ “สำนักงานใหญ่”หรือ“สาขาที่…..” ของผู้ประกอบการ
- 8.2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการ
- 8.3 ระบุ “สำนักงานใหญ่”หรือ“สาขาที่…” ของผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการ
- ลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) ซึ่งหากเป็นเอกสาร PDF แนะนำให้ใช้ Adobe Acrobat Reader DC ทำการเปิดเอกสารขึ้นมา จะแสดงให้เห็นลายเซ็นดิจิทัล หรือใช้ระบบตรวจสอบเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ที่ https://check.leceipt.com เพื่อทำการตรวจสอบลายเซ็นดิจิทัล
เขียนโดย ศุภลักษณ์ สิงห์จารย์
วันที่ 6 มกราคม พ.ศ.2566