ยกเว้นภาษีเงินได้! หักรายจ่ายได้ 2 เท่า! สำหรับค่าใช้บริการระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ภายใน 31 ธันวาคม 2565
07/01/2022วิธีใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ e-Tax Invoice & e-Receipt หรือ e-Withholding Tax
14/01/2022รู้จักกับมาตรฐาน ขมธอ. 3-2560
โดยทั่วไปแล้ว บริษัทผู้ให้บริการจะทำระบบรองรับการสร้างเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ให้แก่ผู้ใช้งาน ซึ่งสร้างรูปแบบเอกสารออกเป็น 2 ส่วน คือ ส่วนแรกสำหรับผู้ใช้งานที่จะส่งให้กับลูกค้าหรือผู้ใช้บริการของผู้ใช้งาน โดยรูปแบบไฟล์ที่ทำงานการจัดส่งจะอยู่ในรูปแบบไฟล์ PDF/A-3 ซึ่งถูกลงลายเซ็นดิจิทัล และแบบที่สองคือ ส่วนที่สำหรับ ผู้ใช้งานที่ส่งไฟล์เอกสารให้กับกรมสรรพากรในรูปแบบไฟล์ XML ซึ่งถูกลงลายเซ็นดิจิทัล
ซึ่งในบทความนี้จะมาพูดถึง “ส่วนที่สำหรับ ผู้ใช้งานที่ส่งไฟล์เอกสารให้กับกรมสรรพากรในรูปแบบไฟล์ XML ซึ่งถูกลงลายเซ็นดิจิทัล” ซึ่งจะมีมาตรฐานการสร้างไฟล์ XML เข้ามาเกี่ยวข้อง นั่นคือ “ขมธอ. 3-2560”
ข้อเสนอแนะมาตรฐานฯ ว่าด้วยข้อความอิเล็กทรอนิกส์ สำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ (ขมธอ. 3-2560)
“เป็นมาตรฐานที่กำหนดรูปแบบโครงสร้างข้อมูล XML สำหรับการซื้อขายสินค้าและบริการ เพื่อสนับสนุนการทำธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งภาครัฐและเอกชน ให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและบริการได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องกับมาตรฐานสากล”
โดย Leceipt ซึ่งเป็นระบบออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ได้จัดทำไฟล์เอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ในรูปแบบไฟล์ XML สำหรับส่งให้กรมสรรพากรได้ตามมาตรฐาน ขมธอ. 3-2560
โดยเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ของระบบ Leceipt ที่ใช้ในการซื้อขายและบริการ ปัจจุบันมีทั้งหมด 8 เอกสาร ดังต่อไปนี้
- ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษี
- ใบเสร็จรับเงิน / ใบกำกับภาษีอย่างย่อ
- ใบเสร็จรับเงิน
- ใบแจ้งหนี้ / ใบกำกับภาษี
- ใบส่งของ / ใบกำกับภาษี
- ใบกำกับภาษี
- ใบเพิ่มหนี้
- ใบลดหนี้
สรุป มาตฐาน ขมธอ. 3-2560 เกี่ยวข้องกับการสร้างเอกสารในรูปแบบไฟล์ XML ของเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ซึ่งใช้ในการนำส่งให้กับกรมสรรพากร ซึ่งระบบ Leceipt ก็ได้พัฒนาระบบการออกเอกสารเป็นไปตามมาตรฐานตามที่กำหนดไว้
ผู้เขียน ศุภลักษณ์ สิงห์จารย์
วันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2565