27/08/2021

วิธีตรวจสอบบริษัทและเอกสารใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)

ปัจจุบันหลายบริษัทมีการออกเอกสาร ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) เมื่อท่านไปซื้อสินค้าหรือบริการ แล้วได้รับเอกสารในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะรู้ได้อย่างไรว่า ใบเสร็จรับเงิน หรือ ใบกำกับภาษีในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับ ถูกต้องตามกระบวนการที่กรมสรรพากรกำหนด  วิธีการตรวจสอบเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt จะต้องทำการตรวจสอบ 2 อย่าง คือ  […]
20/08/2021

วิธีตรวจสอบรายชื่อบริษัทที่มีสิทธิ์ออกใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี อิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)

หากท่านได้รับเอกสาร ใบเสร็จรับเงิน ใบกำกับภาษี ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) แล้วต้องการตรวจสอบบริษัทที่ออกเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ว่าเป็นผู้มีสิทธิ์ออกเอกสารหรือไม่ สามารถทำตามขั้นตอนดังต่อไปนี้  1. เข้าเว็บไซต์ https://etax.rd.go.th แล้วคลิกที่ “ผู้ได้รับอนุมัติ” ที่แถบเมนูด้านบน  2. กรอกเลขประจำตัวผู้เสียภาษีของบริษัทที่เราต้องการตรวจสอบว่ามีสิทธิ์จัดทำเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt หรือไม่ แล้วกดปุ่ม […]
13/08/2021

สนใจออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ต้องทำอย่างไร?

หลายท่านที่สนใจอยากจะออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) หรือ   หากกิจการได้รับยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มอยากจะออกแต่ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างเดียว  (e-Receipt) ก็สามารถทำได้  แต่ไม่รู้ว่าจะเริ่มยังไง?   ลองอ่านบทความนี้แล้วท่านจะเข้าใจขั้นตอนและสิ่งที่ต้องทำเพื่อที่จะสามารถออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้  ผู้เขียนขอสรุปออกมาเป็น 3 ขั้นตอน ดังนี้ 1. ลงทะเบียนระบบ Leceipt 2. ติดตั้งใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ 3. จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ 1. ลงทะเบียนระบบ Leceipt  […]
06/08/2021

วิธีตรวจสอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)

หากท่านชำระค่าสินค้าหรือบริการ แล้วผู้ขายสินค้าหรือบริการได้จัดส่ง ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ให้ท่าน แล้วท่านจะรู้ได้ยังไงว่าใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ที่ได้รับเป็นเอกสารจริง ถูกต้องตามที่กรมสรรพากรกำหนด  ขั้นตอนการตรวจสอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt)   1. เข้าเว็บไซต์ https://check.leceipt.com  2. กดปุ่มเลือกไฟล์ แล้วเลือกไฟล์ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ นามสกุล .pdf  3. ระบบจะตรวจสอบเอกสาร และรายงานผลการตรวจสอบ e-Tax […]
30/07/2021

กิจการที่ได้รับยกเว้น VAT สามารถใช้ระบบ e-Receipt ได้

หลายท่านอาจจะยังไม่ทราบว่า ธุรกิจที่ได้รับยกเว้น VAT หรือธุรกิจที่รายได้ไม่เกิน 1.8 ล้านบาท หรือได้รับยกเว้นไม่ต้องจดทะเบียน ภ.พ. 20 สามารถใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ออก ใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ได้ (ได้เฉพาะ ใบเสร็จรับเงิน นะครับ ใบกำกับภาษีออกไม่ได้เพราะไม่ได้จดทะเบียน ภ.พ. 20)  ตัวอย่างกิจการที่ได้รับยกเว้น VAT ที่สามารถใช้ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt  กิจการให้บริการขนส่งในประเทศไทย   ปัจจุบันผู้บริโภคนิยมซื้อของทางออนไลน์มากขึ้น ทำให้เกิดการขนส่งสินค้าผ่านผู้ให้บริการขนส่งสินค้าจำนวนมาก ซึ่งการออกใบเสร็จรับเงิน หากเปลี่ยนจากกระดาษมาเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ จะทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้อย่างมาก […]
16/07/2021

วิธีตรวจสอบใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ แบบ XML ไฟล์

กระบวนการในการจัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt จะต้องทำการสร้าง PDF และ XML ไฟล์ แล้วเราจะรู้ได้ยังไงว่าไฟล์ที่เราสร้างขึ้นถูกต้องตามข้อกำหนดของสรรพากร ? บทความนี้จะแสดงวิธีการตรวจสอบใบกำกับภาษีที่เป็นรูปแบบไฟล์ XML ว่ามีความถูกต้องหรือไม่ ซึ่งระบบ e-Tax ที่ใช้ตรวจสอบ จะตรวจสอบ 2 อย่างหลัก ๆ คือ  รูปแบบโครงสร้างของไฟล์ XML มีความถูกต้องหรือไม่ (XML Structure)  ลายเซ็นดิจิทัล มีความถูกต้องหรือไม่ (Digital Signature)  หากท่านมีไฟล์ XML แล้วสามารถเข้าสู่ ลิงค์นี้เพื่อทำการตรวจสอบ (https://etax.rd.go.th/etax_staticpage/app/#/index/support/validateschema#top)  หากยังไม่มีไฟล์ XML ท่านสามารถสร้างไฟล์ XML ผ่านระบบ Leceipt เข้าสู่ระบบ […]
09/07/2021

วิธีลงทะเบียนรับ e-Tax Invoice & e-Receipt การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคทางอีเมล

ปัจจุบันนี้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ได้ออก ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ผ่านระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt ทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกอย่างมากในการรับเอกสาร ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี ทางอีเมล ซึ่งหากเปรียบเทียบกับสมัยก่อนที่ต้องไปต่อคิวชำระเงินที่การไฟฟ้าเพื่อที่จะได้รับเอกสารต้นฉบับที่เป็นกระดาษ หรือรอเอกสารที่จะมาพร้อมกับใบแจ้งค่าไฟฟ้าของเดือนถัดไปจากพนักงานที่มาจดมิเตอร์ไฟฟ้า การรับเอกสารทางอีเมลจะสะดวกกว่ามาก การพัฒนาระบบของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคนับได้ว่าทันต่อสถานการณ์โควิดที่กำลังระบาดหลายระลอก หากไม่มีเอกสารที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ผู้ที่ต้องการเอกสารที่เป็นกระดาษก็จะต้องไปต่อคิวเพื่อชำระเงินที่การไฟฟ้า ถือว่าเป็นความเสี่ยงอย่างมากทั้งผู้ที่ไปชำระเงินและตัวเจ้าหน้าที่เอง ผู้ที่ต้องการรับ ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี […]
25/06/2021

ลายเซ็นดิจิทัลบนไฟล์ XML ของใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี

สำหรับผู้ใช้งานระบบ Leceipt การใช้งานลายเซ็นดิจิทัลบนใบเสร็จรับเงิน/ ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ ที่แสดงออกมาในรูปแบบไฟล์ XML เพื่อทำสำหรับจัดส่งให้กับกรมสรรมพากรนั้น อาจจะสงสัยว่าลายเซ็นดิจิทัลนั้นแสดงออกมาได้อย่างไร  สำหรับไฟล์ XML นั้น เป็นไฟล์ในรูปแบบโค๊ดที่ใช้ให้กับระบบซอฟแวร์ภายในของกรมสรรมพากรอ่านค่าข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในไฟล์ โดยเรียกทำการเปิดไฟล์ XML โดยใช้ใช้ซอฟแวร์ที่เรียกว่า Text editor อย่างเช่นเช่น Nodepad VS Code ((Visual Studio Code)) Atom เป็นต้น โดยจากรูปด้านล่างจะมีข้อมูลต่าง ๆ ในเอกสารที่เราได้ป้อนค่าให้แก้ระบบที่ ออกใบเสร็จรับเงิน/ ใบกำกับภาษี ใบเพิ่มหนี้และใบลดหนี้ มาให้ดังรูป  โดยรูปด้านบนเปิดไฟล์ XML โดยใช้ซอฟแวร์ที่ชื่อ VS Code (Visual Studio Code) โดยลายเซ็นดิจิทัลจะแสดงบรรทัดสุดท้ายให้สังเกตุบรรทัดสุดท้ายจะพบกับ tag ที่แสดงเป็น <ds:Signature> ส่วนนี้นี่เองจะแสดงลายเซ็นดิจิทัลที่ทำการเข้ารหัสข้อมูลไว้แล้วนั่นเอง  ผู้เขียน ศุภลักษณ์ สิงห์จารย์  วันที่เขียน 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564
28/05/2021

ข้อดีใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์

อย่างที่ทราบกันดีว่าใบกำกับภาษีนั้นเป็นเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายสินค้าและการบริการซึ่งต้องนำไปยื่นให้แก่กรมสรรพกร ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีในปัจจุบันนี้ทำให้มีใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์หรือ e-Tax invoice & e-Reciept ซึ่งถือเป็นอีกตัวเลือกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคล่องตัวทางธุรกิจ   โดยใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีทั้งที่เป็น “ใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษี” “ใบลดหนี้” และ “ใบเพิ่มหนี้” ภายในเอกสารเหล่านั้นจะมี e-Signature ซึ่งเป็นตัวรับรองการยืนยันตัวตนของบริษัทที่เป็นผู้ขายหรือบริการ โดยเอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้จะยื่นไฟล์ในรูปแบบ XML และ PDF ให้แก่กรมสรรพากร   มาดูความได้เปรียบของใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งมีดังต่อไปนี้  1. ลดต้นทุนแฝงทางธุรกิจ : ใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์สามารถลดค่ากระดาษรวมไปถึงค่าหมึกสำหรับการปริ้นเอกสารออกมา รวมถึงค่าใช้จ่ายสำหรับอุปกรณ์สำหรับการจัดเก็บเอกสาร หรือแม้กระทั้งการลดภาระการทำงานของเครื่องปริ้นเตอร์เพื่อเอาไว้สำหรับงานเอกสารอื่น ๆ ที่จำเป็นมากกว่า  2. ลดความยุ่งยากในการจัดเก็บข้อมูล : เนื่องจากผู้ให้บริการสำหรับการออกใบกำกับภาษีแบบอิเล็กทรอนิกส์มีเทคโนโลยีที่ทำการจัดเก็บข้อมูลทางอินเตอร์เนตไว้ให้บริการอยู่แล้วจึงเพียงแค่ดาวน์โหลดไฟล์เอกสารแล้วนำมาใช้งานต่อเท่านั้น  3. ป้องกันการสูญหายของเอกสาร : ปัญหาอีกประการหนึ่งของการจัดเก็บใบกำกับภาษีในรูปแบบเอกสารกระดาษนั้นก็คือ บางครั้งหากมีความบกพร่องในการจัดเก็บเอกสารนั้นอาจจะสูญหายหรืออาจจะเสียหายจากบางกรณี อย่างเช่น การเกิดอัคคีภัย น้ำท่วมและไปจนถึงอุบัติเหตุต่าง ๆ ที่เกินกว่าจะควบคุม  4. ป้องกันการทุจริตภายในองค์กร : เนื่องจากใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ถูกจัดเก็บไว้ใน server ของผู้ให้บริการโดยอัตโนมัติหลังจากทำการออกใบกำกับภาษีแบบต่าง ๆ ทำให้สามารถเข้าไปตรวจสอบดูข้อมูลเอกสารการซื้อขายและการบริการได้อย่างสะดวก  5. […]
error: Content is protected !!