นำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพากรแล้วต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 และทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายอีกหรือไม่ 
นำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพากรแล้วต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 และทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายอีกหรือไม่ 
13/05/2022
ขั้นตอนการออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Leceipt
ขั้นตอนการออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Leceipt
20/05/2022
นำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพากรแล้วต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 และทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายอีกหรือไม่ 
นำส่งข้อมูลใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ หรือใบเสร็จรับเงินอิเล็กทรอนิกส์ ให้กรมสรรพากรแล้วต้องยื่นแบบ ภ.พ.30 และทำรายงานภาษีซื้อ ภาษีขายอีกหรือไม่ 
13/05/2022
ขั้นตอนการออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Leceipt
ขั้นตอนการออกเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ด้วยโปรแกรม Leceipt
20/05/2022

ความแตกต่างของการยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กับใบกำกับภาษีแบบเดิมที่เป็นกระดาษ ต่างกันตรงไหนบ้าง? 

ความแตกต่างของการยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์กับใบกำกับภาษีแบบเดิมที่เป็นกระดาษ ต่างกันตรงไหนบ้าง? 

ผู้ประกอบการยังคงมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.พ.30 ตามประมวลรัษฎากรเช่นเดิม และจะต้องจัดทำรายงานภาษีซื้อ การยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ ระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt จะมีความแตกต่างจากการยกเลิกใบกำกับภาษีแบบเดิมที่เป็นกระดาษ ซึ่งการยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์จะมีความสะดวกมากกว่า  


ก่อนอื่นผู้เขียนจะอธิบายการยกเลิกใบกำกับภาษีแบบเดิมที่เป็นกระดาษก่อน แล้วจะอธิบายการยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) แล้วนำมาเปรียบเทียบกัน 


หากผู้อ่านต้องการอ่านแบบสรุปให้ข้ามไปอ่านที่ย่อหน้าสุดท้ายได้เลยครับ 


วิธียกเลิกใบกำกับภาษีแบบเดิมที่เป็นกระดาษ 

กรณีเป็นผู้ขายสินค้าหรือให้บริการ เมื่อได้รับการร้องขอให้ยกเลิกฉบับเดิมและจัดทำฉบับใหม่ ให้ดำเนินการดังนี้ 

1. เรียกคืนใบกำกับภาษีฉบับเดิม และนำมาประทับตราว่า “ยกเลิก” หรือขีดฆ่า แล้วเก็บรวมไว้กับสำเนาใบกำกับภาษีฉบับเดิม 

2. จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ แต่ต้องลง วัน เดือน ปี ให้ตรงกับ วัน เดือน ปี ตามใบกำกับภาษีฉบับเดิม 

3. หมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีฉบับใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีฉบับใหม่แทนฉบับเดิมเลขที่…เล่มที่…” และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีฉบับใหม่ด้วย 


วิธียกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) 

1. จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ซึ่งเป็นเลขที่ใหม่ และลง วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่  

2. หมายเหตุไว้ในใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ว่า “เป็นการยกเลิกและออกใบกำกับภาษีใหม่แทนใบกำกับภาษีเดิมเลขที่ … วัน เดือน ปี ที่ออกใบกำกับภาษีเดิม” และหมายเหตุการยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์เดิมไว้ในรายงานภาษีขายของเดือนภาษีที่จัดทำใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ใหม่ด้วย 


สรุปความแตกต่างการยกเลิกใบกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) กับการยกเลิกใบกำกับภาษีแบบเดิมที่เป็นกระดาษ 

1. การยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ไม่ต้องเรียกคืนใบกำกับภาษีเดิมที่ส่งให้ผู้ซื้อไปแล้ว ทำให้การยกเลิกใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากไม่ต้องรอใบกำกับภาษีฉบับเดิมที่ได้ออกไปแล้ว 

2. ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ฉบับใหม่ที่ออกแทนใบเดิม ต้องลงวันที่บนเอกสารเป็น วันที่ใหม่ แตกต่างจากการยกเลิกใบกำกับภาษีแบบเดิมที่เป็นกระดาษที่ต้องลงวันที่ในใบกำกับภาษีเดิม 


(อ้างอิงจาก ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร ฉบับที่ 15 เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจัดทำ ส่งมอบ และเก็บรักษาใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ และใบรับอิเล็กทรอนิกส์ ข้อ 22) 

ผู้เขียน นายกฤษณ์ สุขวัจน์ 

นที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 

Comments are closed.

error: Content is protected !!