วิธีสมัคร New e-Filing ระบบใหม่ 2564 ของกรมสรรพากร (สำหรับผู้ที่มีบัญชีระบบเก่า)
วิธีสมัคร New e-Filing ระบบใหม่ 2564 ของกรมสรรพากร (สำหรับผู้ที่มีบัญชีระบบเก่า)
14/10/2021
วิธีแก้ปัญหา เมื่อลูกค้าขอใบกำกับภาษีหลังจากส่งของให้แล้ว!
วิธีแก้ปัญหา เมื่อลูกค้าขอใบกำกับภาษีหลังจากส่งของให้แล้ว!
29/10/2021
วิธีสมัคร New e-Filing ระบบใหม่ 2564 ของกรมสรรพากร (สำหรับผู้ที่มีบัญชีระบบเก่า)
วิธีสมัคร New e-Filing ระบบใหม่ 2564 ของกรมสรรพากร (สำหรับผู้ที่มีบัญชีระบบเก่า)
14/10/2021
วิธีแก้ปัญหา เมื่อลูกค้าขอใบกำกับภาษีหลังจากส่งของให้แล้ว!
วิธีแก้ปัญหา เมื่อลูกค้าขอใบกำกับภาษีหลังจากส่งของให้แล้ว!
29/10/2021

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (แบบเต็มรูป) มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (เต็มรูปแบบ) มีองค์ประกอบอะไรบ้าง

ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (เต็มรูปแบบ) มีองค์ประกอบอะไรบ้าง





โดยทั่วไปแล้ว ใบกำกับภาษี คิือ เอกสารที่ผู้ประกอบการที่ได้ทำการจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ได้ทำการออกให้แก่ ผู้ใช้บริการหรือผู้ซื้อสินค้า ในแต่ละครั้ง เพื่อที่จะแสดงถึงรายการและมูลค่าสินค้าหรือการบริการ รวมไปถึงจำนวนของภาษีมูลค่าเพิ่ม

สำหรับ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ นั้นคือใบกำกับภาษีในรูปแบบดิจิทัล (เช่นในรูปแบบไฟล์ PDF หรือ XML) ซึ่งถูกลงลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) ซึ่งเป็นลายเซ็นที่ถูกเข้ารหัสด้วยเทคโนโลยี PKI (Public Key Infrastructure) ร่วมกับใบรับรองอิเล็กทรอนิกส์ที่ออกให้โดย CA (Certificate Authority) สามารถป้องกันการปลอมแปลงหรือสวมลอยลายเซ็นจากผู้ไม่หวังดี ทำให้เอกสารใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์มีความน่าเชื่อถือสูง

ซึ่งจะขออธิบายดังต่อไปนี้


ส่วนประกอบของใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (แบบเต็มรูป)

สำหรับ ใบกำกับภาษีแบบเต็มรูป (มาตรา 86/4) โดยทั่วไปจะมีองค์ประกอบทั้งหมด 8 อย่าง แต่สำหรับ ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (แบบเต็มรูป) จะมีลายเซ็นดิจิทัล เพิ่มเข้ามารวมกันเป็น 9 องค์ประกอบ

  1. ระบุคำว่า “ใบกำกับภาษี” ในตำแหน่งที่เห็นได้ชัดเจน เช่น บนหัวกระดาษ
  2. จะต้องแสดง “ชื่อ” “ที่อยู่” รวมไปถึง “เลขประจำตัวของผู้เสียภาษี” ของผู้ประกอบการ (ซึ่งได้จดทะเบียนที่ออกใบกำกับภาษี)
  3. รายละเอียด “ชื่อ” “ที่อยู่” ของผู้ซื้อหริือผู้รับบริการ
  4. หมายเลขของใบกำกับภาษีและเล่มใบกำกับภาษี (ถ้ามี)
  5. รายการสินค้าที่ประกอบไปด้วย “ชื่อ” “ชนิด” “ประเภท” “ปริมาณ” และ “มูลค่าของสินค้าและบริการ”
  6. ข้อมูลรายการ “จำนวนภาษีมูลค่าเพิ่มที่คำนวณจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการ โดยให้แยกออกจากมูลค่าของสินค้าหรือของบริการให้ชัดแจ้ง”
  7. แสดง “วัน เดือน ปี” ที่ได้ออกเอกสารใบกำกับภาษี
  8. ข้อความอื่นที่อธิบดีกำหนด
    • 8.1 ระบุ “สำนักงานใหญ่”หรือ“สาขาที่…..” ของผู้ประกอบการ
    • 8.2 เลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรของผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการ
    • 8.3 ระบุ “สำนักงานใหญ่”หรือ“สาขาที่…” ของผู้ซื้อหรือผู้ใช้บริการ
  9. ลายเซ็นดิจิทัล (Digital Signature) ซึ่งหากเป็นเอกสาร PDF แนะนำให้ใช้ Adobe Acrobat Reader DC ทำการเปิดเอกสารขึ้นมา จะแสดงให้เห็นลายเซ็นดิจิทัล หรือใช้ระบบตรวจสอบเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ที่ https://check.leceipt.com เพื่อทำการตรวจสอบลายเซ็นดิจิทัล

นอกจากนี้ยังต้องสร้างเอกสารใบกำกับภาษีในรูปแบบ XML พร้อมลงลายเซ็นดิจิทัล แล้วนำส่งกรมสรรพกรภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป



ผู้เขียน ศุภลักษณ์ สิงห์จารย์ 

วันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ. 2564

อ้างอิง :

  • กรมสรรพากร
  • https://www.leceipt.com/blog/ลายเซ็นดิจิทัล-e-tax-invoice



Comments are closed.

error: Content is protected !!