
เชื่อมต่อโปรแกรม Leceipt กับ โปรแกรมบัญชี PEAK
10/06/2022
เชื่อมต่อโปรแกรม Leceipt กับ โปรแกรมบัญชี QuickBooks
17/06/2022ประเภทผู้เสียภาษีในระบบ e-Tax Invoice & e-Receipt มีกี่ประเภท แตกต่างกันอย่างไร?

ประเภทผู้เสียภาษีเป็นรายละเอียดเพิ่มเติมที่เพิ่มขึ้นมาสำหรับการสร้างเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ซึ่งหากเปรียบเทียบกับการออกเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีที่เป็นกระดาษ
ในส่วนของผู้ซื้อจะระบุแค่เพียงเลขประจำตัวผู้เสียภาษี 13 หลักเท่านั้น แต่ในการออกใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) จะต้องเลือกประเภทผู้เสียภาษีด้วย ซึ่งรายละเอียดประเภทผู้เสียภาษีนี้จะไปแสดงเป็นรหัสหรือโค้ดในไฟล์ XML ที่ต้องนำส่งกรมสรรพากร
โปรแกรม Leceipt เป็นโปรแกรมสำหรับออกเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) หากทำการกดปุ่มสร้างเอกสาร e-Tax Invoice & e-Receipt ในส่วนของผู้ซื้อจะมีประเภทผู้เสียภาษีให้เลือกดังรูปข้างล่างนี้

ซึ่งประเภทผู้เสียภาษีจะมี 4 ประเภทดังนี้
- เลขประจำตัวผู้เสียภาษี สำหรับใช้กับ บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด นิติบุคคลอื่นๆ
- เลขประจำตัวประชาชน สำหรับใช้กับ บุคคลธรรมดา
- เลขที่หนังสือเดินทาง สำหรับใช้กับ ชาวต่างชาติ
- ไม่ระบุ สำหรับใช้กับ บุคคลธรรมดาที่ไม่ได้แจ้งเลขประจำตัวผู้เสียภาษี แต่หากบุคคลนั้นได้จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม จำเป็นต้องระบุเลขประจำตัวประชาชนในเอกสาร
โปรแกรม Leceipt เป็นโปรแกรมสำหรับออกเอกสารใบเสร็จรับเงิน/ใบกำกับภาษีอิเล็กทรอนิกส์ (e-Tax Invoice & e-Receipt) ได้อำนวยความสะดวกในการสร้างเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ ตามกระบวนการที่กรมสรรพากรกำหนด ช่วยให้ท่านสามารถออกเอกสารได้ง่าย ถูกต้อง รวดเร็ว และสะดวกสบาย สามารถทดลองใช้งานได้ที่ https://my.leceipt.com/signup
ผู้เขียน นายกฤษณ์ สุขวัจน์
วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2565